วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กระบวนการสอนที่ครูควรนำไปใช้


กระบวนการที่ครูผู้สอนควรนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

-----------------------------------------

                กระบวนการที่ครูผู้สอนควรนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

มีเป็นจำนวนมาก แต่จะต้องนำมาใช้ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของแต่ละเนื้อหาวิชา เมื่อนำไปใช้แล้ว

อยากทราบว่ากระบวนการที่นำไปใช้ประสบผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใด  ต้องมีการประเมินว่า

นำไปใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อ ฝึกทักษะหรือไม่  และมีการประเมินคุณภาพผู้เรียน

กระบวนการต่าง ๆ ที่ควรนำมาใช้มีดังนี้

       1. กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด

          1.1 ขั้นสังเกต

          1.2 ขั้นจำแนกความแตกต่าง

          1.3 ขั้นหาลักษณะร่วม

          1.4 ขั้นระบุชื่อ

          1.5 ขั้นทดสอบและนำไปใช้

       2. กระบวนการปฏิบัติ

          2.1 ขั้นสังเกต

          2.2 ขั้นทำตามแบบ      

          2.3 ขั้นทำเองโดยไม่มีแบบ

          2.4 ขั้นฝึกให้ชำนาญ

       3. กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

          3.1 ขั้นสังเกต

          3.2 ขั้นอภิปราย

          3.3 ขั้นการรับฟัง

          3.4 ขั้นสร้างความเชื่อมโยงสัมพันธ์

          3.5 ขั้นวิจารณ์

          3.6 ขั้นสรุป

       4. กระบวนการแก้ปัญหา

          4.1 ขั้นสังเกต

          4.2 ขั้นวิเคราะห์

          4.3 ขั้นสร้างทางเลือก

          4.4 ขั้นเก็บข้อมูลประเมินทางเลือก

          4.5 ขั้นสรุป

 

 

 

2

 

       5. กระบวนการสร้างความตระหนัก

          5.1 ขั้นสังเกต

          5.2 ขั้นวิจารณ์

          5.3 ขั้นสรุป

       6. กระบวนการสร้างเจตคติ

          6.1 ขั้นสังเกต

          6.2 ขั้นวิจารณ์

          6.3 ขั้นสรุป

       7. กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ

          7.1 ขั้นสังเกต

          7.2 ขั้นวางแผนปฏิบัติ

          7.3 ขั้นลงมือปฏิบัติ

          7.4 ขั้นพัฒนาความรู้ความเข้าใจ

          7.5 ขั้นสรุป

       8. กระบวนการสร้างค่านิยม

          8.1 ขั้นสังเกต

          8.2 ขั้นประเมินเชิงเหตุผล

          8.3 ขั้นกำหนดค่านิยม

          8.4 ขั้นวางแนวปฏิบัติ

          8.5 ขั้นปฏิบัติด้วยความชื่นชม

       9. กระบวนการคณิตศาสตร์

          9.1 ทักษะคิดคำนวณ

             9.1.1 ขั้นสร้างความคิดรวบยอด

             9.1.2 ขั้นสรุปโดยวิธีอุปนัย

             9.1.3 ขั้นการใช้กฎโดยวิธีนิรนัย

             9.1.4 ขั้นการฝึกฝน วินิจฉัยข้อบกพร่อง

             9.1.5 ขั้นปรับปรุงแก้ไข

          9.2 ทักษะแก้ปัญหาโจทย์

             9.2.1 ขั้นแปลโจทย์เชิงภาษา

             9.2.2 ขั้นแปลภาษาเป็นคณิตศาสตร์

             9.2.3 ขั้นวางแผนขั้นตอนการแก้ปัญหา

             9.2.4 ขั้นปฏิบัติตามขั้นตอน

             9.2.5 ขั้นตรวจสอบคำตอบ

3

 

       10. ทักษะกระบวนการ

          10.1 ตระหนักในปัญหาและความจำเป็น

          10.2 คิดวิเคราะห์วิจารณ์อย่างเป็นระบบ

          10.3 สร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย

          10.4 การประเมินและเลือกทางเลือกที่เหมาะสม

          10.5 กำหนดขั้นตอนของงานอย่างชัดเจน

          10.6 ปฏิบัติอย่างชื่นชม

          10.7 ประเมินด้วยตนเองระหว่างปฏิบัติ

          10.8 ปรับปรุงให้งานดีขึ้นอยู่เสมอ

          10.9 ประเมินผลรวมเพื่อความภูมิใจ  

       11. กระบวนการสร้างนิสัย

          11.1 รับรู้ (สังเกต)

          11.2 คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

          11.3 สร้างแนวปฏิบัติที่เหมาะสม

          11.4 ลงมือปฏิบัติ

          11.5 ประเมินผลและปรับปรุง

          11.6 ชื่นชมในการปฏิบัติงาน

       12. กระบวนการเรียนภาษา

          12.1 เข้าใจ

          12.2 นำไปปฏิบัติ

          12.3 วิเคราะห์

          12.4 สังเคราะห์

          12.5 ประเมินค่า

       13. กระบวนการกลุ่ม

          13.1 ระดมสมอง          

          13.2 วางแผน

          13.3 ปฏิบัติตามแผน

          13.4 ประเมิน

          13.5 ปรับปรุง พัฒนา

 

 

 

 

4

 

       14. กระบวนการสืบสวนสอบสวน

          14.1 กำหนดปัญหา

          14.2 ตั้งสมมุติฐาน

          14.3 รวบรวมข้อมูล

          14.4 ทดสอบสมมุติฐาน

          14.5 สร้างข้อสรุป

          14.6 นำไปประยุกต์ใช้

       15. กระบวนการสอนพลศึกษา

          15.1 ขั้นเตรียม

          15.2 ขั้นอธิบายและสาธิต

          15.3 ขั้นฝึกหัด

          15.4 ขั้นใช้

          15.5 ขั้นสรุปและสุขปฏิบัติ

       16. ขั้นตอนการสอนแบบ มปภ. .1-2

          16.1 ครูอ่าน/เล่าเรื่องให้นักเรียนฟัง

          16.2 นักเรียนเล่าเรื่องกลับ สนทนา อภิปราย อ่านเรื่องและแสดงบทบาทสมมุติ

          16.3 เขียนเรื่องร่วมกันกับครู

          16.4 ทำหนังสือเล่มใหญ่

          16.5 ทำกิจกรรมทางภาษา เช่น เล่นเกม และทำกิจกรรมการอ่าน การเขียน

               การฟังและการพูดเพิ่มเติม

       17. ขั้นตอนการสอนแบบ มปภ. .3-4

          17.1 นักเรียนอ่านเรื่องร่วมกันและอภิปราย/สนทนาเกี่ยวกับการอ่านร่วมกันกับครู

               /ทำไดอะแกรม สรุปความ

          17.2 ครูโยงเรื่องที่อ่านเข้าสู่เรื่องของนักเรียนและอภิปรายร่วมกัน

          17.3 เขียนเรื่องร่วมกันกับครูในกลุ่ม/เขียนเรื่องของนักเรียนเองในกลุ่มย่อยหรือ

               ตามลำพัง

          17.4 อภิปราย สนทนา และวิเคราะห์อรรถลักษระร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องในเนื้อความ

              ที่นักเรียนเขียนขึ้นในขั้นที่ 3

          17.5 ทำกิจกรรมทางภาษาเพื่อทบทวนฝึกความแม่นยำและเสริมทักษะทางภาษา

 

 

 

 

5

 

       18. กระบวนการสอนแบบวิทยาศาสตร์

          18.1 กำหนดปัญหา

          18.2 แยกปัญหาและวางแผนแก้ปัญหา

          18.3 ลงมือแก้ปัญหาหรือการทดลอง

          18.4 วิเคราะห์ข้อมูลหรือรวบรวมความรู้เข้าด้วยกัน

          18.5 สรุปและประเมินผล

       19. กระบวนการสอนแบบทดลอง

          19.1 ขั้นทำให้เกิดความเข้าใจและแรงจูงใจ

          19.2 ขั้นทำการทดลอง

          19.3 ขั้นเสนอผลการทดลอง      

       20. กระบวนการสอนแบบโครงการ

          20.1 ขั้นกำหนดความมุ่งหมาย

          20.2 ขั้นวางแผนหรือวางโครงการ

          20.3 ขั้นดำเนินการ

          20.4 ขั้นประเมินผล

       21. กระบวนการสอนแบบศูนย์การเรียน

          21.1 ครูกำหนดข้อตกลงกับนักเรียนทั้งชั้นในวิธีการเรียน เวลา และความรับผิดชอบ

          21.2 แต่ละกลุ่มเข้าศึกษาประจำศูนย์

          21.3 เมื่อครบหนึ่งหน่วยเวลาครูบอกให้สับเปลี่ยนศูนย์ตามลำดับ

          21.4 เมื่อครบทุกศูนย์รวมทุกคนอภิปรายซักถามหรือเสนอรายงาน

                             -------------------

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การวิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน

                                        บทสรุปโดย ดร.ชวลิต จันทร์ศรี

การวิจัยในชั้นเรียนมีกี่ลักษณะ

       โดยทั่วไปการวิจัยในชั้นเรียนมี 2 ลักษณะคือ

1.       การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน

2.       การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อการพัฒนาผู้เรียน

การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนคืออะไร

        การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน คือ การค้นหาความรู้และแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน
ที่ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นระบบ

แก้ปัญหาผู้เรียนมากน้อยเพียงใด

       เน้นการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเด็กรายคน

อย่างเป็นระบบทำอย่างไร

       อย่างเป็นระบบคือ มีลำดับขั้นในการค้นหาความรู้และแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนที่ประสบผล
สำเร็จ มีขั้นที่สำคัญ ๆ 5 ขั้นดังนี้
    ขั้นที่ 1  ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา
    ขั้นที่ 2  วางแผนแก้ปัญหา
    ขั้นที่ 3  จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา
    ขั้นที่ 4  เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
    ขั้นที่ 5  สรุปผลการแก้ปัญหา และนำไปใช้

แต่ละขั้นทำอย่างไร

       ขั้นที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา
            ศึกษาปัญหาจากข้อมูลต่าง ๆ คือ
                 1.  ศึกษาจากข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ผ่านมาว่าผ่านเกณฑ์หรือเป้าหมายที่ตนเองหรือ
โรงเรียนกำหนดไว้หรือไม่ ถ้าไม่ถึงเกณฑ์หรือเป้าหมายกำหนดแสดงว่าเป็นปัญหา
                 2.  ศึกษาจากข้อมูลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรว่าผ่านเกณฑ์หรือเป้าหมายที่ตนเองหรือโรงเรียน
กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าไม่ถึงเกณฑ์หรือเป้าหมายกำหนดแสดงว่าเป็นปัญหา
                 3.  ศึกษาข้อมูลจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของนักเรียนทั้งขณะเรียน พักกลางวัน หรือพักผ่อนว่ามี
พฤติกรรมเบี่ยงเบนจากปกติหรือไม่อย่างไร ถ้าเบี่ยงเบนจากปกติแสดงว่าเป็นปัญหา
                 4.  ศึกษาข้อมูลจากผลงานนักเรียนว่าผลงานผิดบ่อยครั้ง ไม่เป็นระเบียบ ไม่สะอาด ไม่สวย ไม่มีความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ ฯลฯ ถ้าผลงานเป็นดังกล่าวแสดงว่าเป็นปัญหา
            วิเคราะห์ปัญหา คือ การนำปัญหาต่าง ๆ มาพิจารณาว่าปัญหาใดมีความรุนแรงมากกว่า แต่ละปัญหามีสาเหตุมาจากอะไร แล้วจัดลำดับไว้




-2-

            ขั้นที่ 2 วางแผนแก้ปัญหา
                 การวางแผนแก้ปัญหามีลำดับดังนี้
1.       เลือกปัญหาที่รุนแรงที่สุดมา 1 ปัญหา อย่านำหลาย ๆ ปัญหามาแก้ไขในเวลาเดียวกัน
2.       เลือกวิธีแก้ปัญหาที่คิดว่าประสบผลสำเร็จ 1 วิธี เช่น วิธีสอน, สื่อ, การวัดและประเมินผล
3.       สร้างนวัตกรรมตามวิธีแก้ปัญหาหลาย ๆ ชุด
4.       วางแผนการใช้นวัตกรรม
5.       จัดทำโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน มีหัวข้อดังนี้
                 เรื่อง………………………………………
5.1    ปัญหาและสาเหตุ
5.2    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
5.3    การวางแผนดำเนินการ
5.4    ระยะเวลา
           ขั้นที่ 3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา
1.       นำนวัตกรรมไปใช้กับนักเรียนที่มีปัญหาเรื่อย ๆ จนประสบผลสำเร็จ
2.       เมื่อพบว่าประสบผลสำเร็จแล้วให้หยุดใช้นวัตกรรม
           ขั้นที่ 4 เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
1.       ใช้นวัตกรรมครั้งใดให้บันทึกผลการเรียนของนักเรียนไว้ทุกครั้ง
2.       บันทึกผลทุกครั้งให้วิเคราะห์ผลและเทียบกับเกณฑ์
3.       วิเคราะห์แล้วเมื่อพบว่าแก้ไขปัญหาได้แล้วให้หยุดใช้นวัตกรรม
           ขันที่ 5 สรุปผลการแก้ปัญหา และนำไปใช้
1.       นำโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียนและผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาเขียนรายงานสรุป
2.       นำผลการวิจัยไปใช้ปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียน และเผยแพร่
3.       หัวข้อรายงานการวิจัยในชั้นเรียน (ไม่ต้องทำเป็นบทที่ 1-5)
                      เรื่อง……………………………………………
                      ผู้วิจัย…………………………………………
3.1    ปัญหาและสาเหตุ
3.2    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
3.3    วิธีดำเนินการวิจัย
3.4    ผลการวิจัย
3.5    สรุปผลการวิจัย
3.6    อภิปรายผล
                           3.7 ข้อเสนอแนะ


วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การนิเทศภายในโรงเรียน


การนิเทศภายในโรงเรียน

                                                                                                โดย ดร.ชวลิต จันทร์ศรี  โทร.081-7290994

ความหมายของการนิเทศภายใน

การนิเทศภายในโรงเรียน หมายถึง การร่วมมือกันของบุคลากรในโรงเรียนใน

การปฏิบัติงาน ตามบทบาทหน้าที่อย่างมีขั้นตอนเพื่อแก้ไข ปรังปรุงและพัฒนางานให้ส่งผล

ต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน

 

ความสำคัญของการนิเทศภายในโรงเรียน

 

การนิเทศภายในโรงเรียนมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร

                การนิเทศภายในโรงเรียน มีความสำคัญอย่างยิ่งด้วยเหตุผล 6 ประการดังนี้

1.             ศึกษานิเทศก์โดยตำแหน่งมีจำนวนจำกัด  จึงไม่สามารถสนองความต้องการทาง

การนิเทศการศึกษาของโรงเรียนต่างๆ ได้ทั่งถึง

2.             โรงเรียนมีสภาพปัญหาและความต้องการแตกต่างกัน เป็นการยากที่ศึกษานิเทศก์

จะสามารถสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของโรงเรียนได้ทุกโรง

3.             ปัจจุบันบุคลากรในโรงเรียนส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถและ

ความชำนาญเพียงพอที่จะนิเทศงานกันเองได้

4.             วิธีการนิเทศปัจจุบันต้องการให้บุคลากรในหน่วยงานร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและ

กัน

5.             เป็นหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียน จำเป็นต้องให้ความสำคัญในการกระตุ้น

ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูผู้สอนจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน

6.             เป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน และส่งเสริมการทำงาน

เป็นทีม เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันส่งผลให้งานบรรลุวัตถุประสงค์

 

องค์ประกอบของการนิเทศภายในโรงเรียน

 

                      องค์ประกอบของการนิเทศภายในโรงเรียนสรุปได้ว่า มี 3 ประการคือ

1.             ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนที่เป็นผู้บริหารครูผู้สอน

และนักการภารโรง  ซึ่งต้องสวมบทบาทเป็นทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ

2.             วิธีการนิเทศ  มีวิธีการหลายลักษณะ เช่น การประชุม การปรึกษาหารือ อภิปราย

ชักถาม  ประชุมระดมสมอง  ประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น

3.             สื่อและเครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ  ประกอบด้วย เอกสารความรู้ แบบบันทึก

แบบทดสอบ  แบบสอบถาม  แบบตรวจสอบ  แบบประเมิน เป็นต้น

 

กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน

 

                กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ ควรมี 5 ขั้นตอน ดังนี้


        ขั้นที่  1  การศึกษาสภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการในการนิเทศ


        ขั้นที่  2  การวางแผนการนิเทศ

        ขั้นที่  3  การสร้างสื่อ  เครื่องมือ  และพัฒนาวิธีการนิเทศ

        ขั้นที่  4  การปฏิบัติการนิเทศ

        ขั้นที่  5  การประเมินผลและรายงานผลการนิเทศ

 

กิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน

 

กิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนมีหลายกิจกรรม  โรงเรียนสามารถใช้กิจกรรมตาม

สถานการณ์และความเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน มี 16 กิจกรรมพอสรุปได้ดังนี้

1.             การประชุม  เป็นการนิเทศเชิงป้องกัน  ผู้รับการนิเทศปฏิบัติงานได้ตามแผนที่

กำหนด

2.             การปฐมนิเทศ  เป็นการนิเทศเชิงป้องกัน  ผู้รับการนิเทศได้ความรู้ความเข้าใจ และ

แนวทางในการปฏิบัติ

3.             การให้คำปรึกษาแนะนำ เป็นการนิเทศเชิงเน้นวัตถุประสงค์  ผู้รับการนิเทศได้รับ

ความรู้ความเข้าใจและเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงาน

4.             การอบรม  เป็นการนิเทศเชิงพัฒนา  ผู้รับการนิเทศได้รับความรู้ความเข้าใจและ

ทักษะในการปฏิบัติงาน

5.             การประชุมปฏิบัติการ  เป็นการนิเทศเชิงพัฒนา ผู้รับการนิเทศได้รับความรู้ความ

เข้าใจและทักษะในการปฏิบัติงาน

6.             การสัมมนา  เป็นการนิเทศเชิงพัฒนา ผู้รับการนิเทศได้รับความรู้และแลกเปลี่ยน

ความรู้ซึ่งกันและกัน

7.             การระดมความคิดเป็นการนิเทศเชิงพัฒนา ผู้รับการนิเทศได้รับความรู้และแลก

เปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

8.             การสาธิตการสอน เป็นการนิเทศเชิงพัฒนา ผู้รับการนิเทศได้รับความรู้และ

ประสบการณ์การสอนเพิ่มขึ้น

9.             การให้ศึกษาทางวิชาการ  เป็นการนิเทศเชิงพัฒนา ผู้รับการนิเทศได้รับความรู้

ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน

10.      การสนทนาทางวิชาการ  เป็นการนิเทศเชิงพัฒนา ผู้รับการนิเทศได้รับความรู้แลก

เปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

11.      การเยี่ยมนิเทศชั้นเรียน เป็นการนิเทศเชิงเน้นวัตถุประสงค์ ผู้รับการนิเทศได้รับ

ความรู้และเจตคติที่ดีในการทำงานของผู้นิเทศ

12.      การศึกษาดูงาน เป็นการนิเทศเชิงพัฒนา ผู้รับการนิเทศได้รับความรู้และประสบ

การณ์ใหม่จากการศึกษาดูงาน

13.      การสังเกตการสอน  เป็นการนิเทศเชิงแก้ไข ผู้รับการนิเทศจะมีทักษะและเจตคติที่

ดีต่อการสอน

14.      การวิจัยเชิงปฏิบัติการ  เป็นการนิเทศเชิงเน้นวัตถุประสงค์ ผู้รับการนิเทศได้รับ

ความรู้และประสบการณ์ตรงในการแก้ไขปัญหา การเรียนการสอน

15.      การเขียนเอกสาร/บทความวิชาการ  เป็นการนิเทศเชิงพัฒนา ผู้รับการนิเทศได้รับ

ความรู้ความเข้าใจและพัฒนางานที่รับผิดชอบ

16.      การจัดนิทรรศการ  เป็นการนิเทศเชิงพัฒนา ผู้รับการนิเทศได้รับความรู้ความเข้าใจ

และประสบการณ์ใหม่

 

มาตรฐานการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน

 

มาตรฐานการดำเนินการนิเทศภายใน สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 

เคยได้กำหนดไว้ 5 มาตรฐาน พร้อมเสนอแนวทางดำเนินการแต่ละมาตรฐานไว้ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

มาตรฐานการนิเทศ
แนวทางดำเนินการ
1.             โรงเรียนกำหนดผู้รับผิดชอบงานนิเทศภายในโรงเรียนอย่างชัดเจนผู้รับผิดชอบงานมีความเข้าใจขอบข่ายงานและความรับผิดชอบของตน
 
1.1      พิจารณาแต่งตั้งบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้รับผิดชอบงานนิเทศของโรงเรียนในรูปของคณะกรรมการ
1.2      กำหนดขอบข่ายหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการให้ชัดเจน
1.3      ชี้แจง  มอบหมายให้คณะกรรมการเข้าใจ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง
1.4      ประชุมชี้แจงให้ครูเข้าใจบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ที่รับผิดชอบงานนิเทศของโรงเรียน
1.5      ให้คณะครูได้มีส่วนร่วมในการสรรหาผู้รับผิดชอบงานนิเทศของโรงเรียน
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มาตรฐานการนิเทศ
แนวทางดำเนินการ
2.             โรงเรียนจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการวางแผนนิเทศ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3.             โรงเรียนวางแผนนิเทศพื่อสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของโรงเรียน
 
2.1      รวบรวมข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นต้องใช้ในการวางแผนนิเทศซึ่งครอบคลุมสภาพการบริหารงานด้านต่างๆ ของโรงเรียนและข้อมูลที่แสดงระดับคุณภาพของนักเรียน ซึ่งได้แก่
1)            ระดับคุณภาพของนักเรียน
2)            อัตราการซ้ำชั้น
3)            อัตราการมาเรียน
4)            สภาพการปฏิบัติงานของครู
5)            สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
6)            ความต้องการได้รับการฝึกอบรม
2.2      ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลให้ตรงตามสภาพ  เป็นปัจจุบัน  สามารถนำมาใช้ได้ทันที
2.3      นำข้อมูลที่จัดเก็บไปใช้ในการวางแผนนิเทศ
3.1  กำหนดประเด็นที่จะนิเทศโดยการวิเคราะห์ 
       ข้อมูลสภาพปัจจุบันของโรงเรียน
3.2  กำหนดกิจกรรมนิเทศให้เหมาะสมกับ
       ประเด็นที่จะนิเทศและกลุ่มเป้าหมาย
3.3  จัดทำรายละเอียดของกิจกรรมการนิเทศแต่
       ละกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์  
       เป้าหมาย ขั้นตอนการดำเนินการ  ทรัพยากร
       ที่จะใช้และการประเมินผล
3.4  จัดทำแผนนิเทศของโรงเรียน
3.5  ให้คณะครูในโรงเรียนที่ได้มีส่วนร่วมใน
        การวางแผนนิเทศ
 

 

 

มาตรฐานการนิเทศ
แนวทางดำเนินการ
4.             โรงเรียนดำเนินการตามแผนนิเทศที่วางไว้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5.             โรงเรียนประเมินผลการนิเทศอย่างเป็นระบบและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการนิเทศในโรงเรียน
4.1  มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการตามแผน
4.2  ประชุมชี้แจงให้บุคลากรในโรงเรียนได้เข้าใจและรับ
       ทราบแผนดำเนินการตลอดจนบทบาทหน้าที่ของผู้
        เกี่ยวข้อง
4.3  ผู้ที่ได้รับมอบหมายดำเนินการตามแผนนิเทศที่วาง
        ไว้
4.4  ผู้บริหารโรงเรียนให้การสนับสนุนการดำเนินการ
       ตามแผน  เช่น
1)            สนับสนุนด้านงบประมาณ
2)            สนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์
3)            สนับสนุนด้านขวัญและกำลังใจ
5.1      กำหนดกิจกรรมการประเมินผลการนิเทศไว้ในแผนนิเทศของโรงเรียน
5.2      กำหนดรายละเอียดในแผนการประเมินให้ครอบคลุมสาระสำคัญต่อไปนี้
1)            เรื่องที่จะประเมิน
2)            วิธีการประเมิน
3)            เครื่องมือประเมิน
4)            ผู้ประเมิน
5.3       ชี้แจงให้บุคลากรในโรงเรียนเข้าใจและรับทราบแผนการประเมินการนิเทศของโรงเรียน
5.4      สร้างเครื่องมือประเมิน
5.5      เก็บรวบรวมข้อมูลที่จะใช้ในการประเมินโดยใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นและวิเคราะห์ข้อมูล
5.6      จัดทำรายงานการประเมินผล