วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กระบวนการสอนที่ครูควรนำไปใช้


กระบวนการที่ครูผู้สอนควรนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

-----------------------------------------

                กระบวนการที่ครูผู้สอนควรนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

มีเป็นจำนวนมาก แต่จะต้องนำมาใช้ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของแต่ละเนื้อหาวิชา เมื่อนำไปใช้แล้ว

อยากทราบว่ากระบวนการที่นำไปใช้ประสบผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใด  ต้องมีการประเมินว่า

นำไปใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อ ฝึกทักษะหรือไม่  และมีการประเมินคุณภาพผู้เรียน

กระบวนการต่าง ๆ ที่ควรนำมาใช้มีดังนี้

       1. กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด

          1.1 ขั้นสังเกต

          1.2 ขั้นจำแนกความแตกต่าง

          1.3 ขั้นหาลักษณะร่วม

          1.4 ขั้นระบุชื่อ

          1.5 ขั้นทดสอบและนำไปใช้

       2. กระบวนการปฏิบัติ

          2.1 ขั้นสังเกต

          2.2 ขั้นทำตามแบบ      

          2.3 ขั้นทำเองโดยไม่มีแบบ

          2.4 ขั้นฝึกให้ชำนาญ

       3. กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

          3.1 ขั้นสังเกต

          3.2 ขั้นอภิปราย

          3.3 ขั้นการรับฟัง

          3.4 ขั้นสร้างความเชื่อมโยงสัมพันธ์

          3.5 ขั้นวิจารณ์

          3.6 ขั้นสรุป

       4. กระบวนการแก้ปัญหา

          4.1 ขั้นสังเกต

          4.2 ขั้นวิเคราะห์

          4.3 ขั้นสร้างทางเลือก

          4.4 ขั้นเก็บข้อมูลประเมินทางเลือก

          4.5 ขั้นสรุป

 

 

 

2

 

       5. กระบวนการสร้างความตระหนัก

          5.1 ขั้นสังเกต

          5.2 ขั้นวิจารณ์

          5.3 ขั้นสรุป

       6. กระบวนการสร้างเจตคติ

          6.1 ขั้นสังเกต

          6.2 ขั้นวิจารณ์

          6.3 ขั้นสรุป

       7. กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ

          7.1 ขั้นสังเกต

          7.2 ขั้นวางแผนปฏิบัติ

          7.3 ขั้นลงมือปฏิบัติ

          7.4 ขั้นพัฒนาความรู้ความเข้าใจ

          7.5 ขั้นสรุป

       8. กระบวนการสร้างค่านิยม

          8.1 ขั้นสังเกต

          8.2 ขั้นประเมินเชิงเหตุผล

          8.3 ขั้นกำหนดค่านิยม

          8.4 ขั้นวางแนวปฏิบัติ

          8.5 ขั้นปฏิบัติด้วยความชื่นชม

       9. กระบวนการคณิตศาสตร์

          9.1 ทักษะคิดคำนวณ

             9.1.1 ขั้นสร้างความคิดรวบยอด

             9.1.2 ขั้นสรุปโดยวิธีอุปนัย

             9.1.3 ขั้นการใช้กฎโดยวิธีนิรนัย

             9.1.4 ขั้นการฝึกฝน วินิจฉัยข้อบกพร่อง

             9.1.5 ขั้นปรับปรุงแก้ไข

          9.2 ทักษะแก้ปัญหาโจทย์

             9.2.1 ขั้นแปลโจทย์เชิงภาษา

             9.2.2 ขั้นแปลภาษาเป็นคณิตศาสตร์

             9.2.3 ขั้นวางแผนขั้นตอนการแก้ปัญหา

             9.2.4 ขั้นปฏิบัติตามขั้นตอน

             9.2.5 ขั้นตรวจสอบคำตอบ

3

 

       10. ทักษะกระบวนการ

          10.1 ตระหนักในปัญหาและความจำเป็น

          10.2 คิดวิเคราะห์วิจารณ์อย่างเป็นระบบ

          10.3 สร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย

          10.4 การประเมินและเลือกทางเลือกที่เหมาะสม

          10.5 กำหนดขั้นตอนของงานอย่างชัดเจน

          10.6 ปฏิบัติอย่างชื่นชม

          10.7 ประเมินด้วยตนเองระหว่างปฏิบัติ

          10.8 ปรับปรุงให้งานดีขึ้นอยู่เสมอ

          10.9 ประเมินผลรวมเพื่อความภูมิใจ  

       11. กระบวนการสร้างนิสัย

          11.1 รับรู้ (สังเกต)

          11.2 คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

          11.3 สร้างแนวปฏิบัติที่เหมาะสม

          11.4 ลงมือปฏิบัติ

          11.5 ประเมินผลและปรับปรุง

          11.6 ชื่นชมในการปฏิบัติงาน

       12. กระบวนการเรียนภาษา

          12.1 เข้าใจ

          12.2 นำไปปฏิบัติ

          12.3 วิเคราะห์

          12.4 สังเคราะห์

          12.5 ประเมินค่า

       13. กระบวนการกลุ่ม

          13.1 ระดมสมอง          

          13.2 วางแผน

          13.3 ปฏิบัติตามแผน

          13.4 ประเมิน

          13.5 ปรับปรุง พัฒนา

 

 

 

 

4

 

       14. กระบวนการสืบสวนสอบสวน

          14.1 กำหนดปัญหา

          14.2 ตั้งสมมุติฐาน

          14.3 รวบรวมข้อมูล

          14.4 ทดสอบสมมุติฐาน

          14.5 สร้างข้อสรุป

          14.6 นำไปประยุกต์ใช้

       15. กระบวนการสอนพลศึกษา

          15.1 ขั้นเตรียม

          15.2 ขั้นอธิบายและสาธิต

          15.3 ขั้นฝึกหัด

          15.4 ขั้นใช้

          15.5 ขั้นสรุปและสุขปฏิบัติ

       16. ขั้นตอนการสอนแบบ มปภ. .1-2

          16.1 ครูอ่าน/เล่าเรื่องให้นักเรียนฟัง

          16.2 นักเรียนเล่าเรื่องกลับ สนทนา อภิปราย อ่านเรื่องและแสดงบทบาทสมมุติ

          16.3 เขียนเรื่องร่วมกันกับครู

          16.4 ทำหนังสือเล่มใหญ่

          16.5 ทำกิจกรรมทางภาษา เช่น เล่นเกม และทำกิจกรรมการอ่าน การเขียน

               การฟังและการพูดเพิ่มเติม

       17. ขั้นตอนการสอนแบบ มปภ. .3-4

          17.1 นักเรียนอ่านเรื่องร่วมกันและอภิปราย/สนทนาเกี่ยวกับการอ่านร่วมกันกับครู

               /ทำไดอะแกรม สรุปความ

          17.2 ครูโยงเรื่องที่อ่านเข้าสู่เรื่องของนักเรียนและอภิปรายร่วมกัน

          17.3 เขียนเรื่องร่วมกันกับครูในกลุ่ม/เขียนเรื่องของนักเรียนเองในกลุ่มย่อยหรือ

               ตามลำพัง

          17.4 อภิปราย สนทนา และวิเคราะห์อรรถลักษระร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องในเนื้อความ

              ที่นักเรียนเขียนขึ้นในขั้นที่ 3

          17.5 ทำกิจกรรมทางภาษาเพื่อทบทวนฝึกความแม่นยำและเสริมทักษะทางภาษา

 

 

 

 

5

 

       18. กระบวนการสอนแบบวิทยาศาสตร์

          18.1 กำหนดปัญหา

          18.2 แยกปัญหาและวางแผนแก้ปัญหา

          18.3 ลงมือแก้ปัญหาหรือการทดลอง

          18.4 วิเคราะห์ข้อมูลหรือรวบรวมความรู้เข้าด้วยกัน

          18.5 สรุปและประเมินผล

       19. กระบวนการสอนแบบทดลอง

          19.1 ขั้นทำให้เกิดความเข้าใจและแรงจูงใจ

          19.2 ขั้นทำการทดลอง

          19.3 ขั้นเสนอผลการทดลอง      

       20. กระบวนการสอนแบบโครงการ

          20.1 ขั้นกำหนดความมุ่งหมาย

          20.2 ขั้นวางแผนหรือวางโครงการ

          20.3 ขั้นดำเนินการ

          20.4 ขั้นประเมินผล

       21. กระบวนการสอนแบบศูนย์การเรียน

          21.1 ครูกำหนดข้อตกลงกับนักเรียนทั้งชั้นในวิธีการเรียน เวลา และความรับผิดชอบ

          21.2 แต่ละกลุ่มเข้าศึกษาประจำศูนย์

          21.3 เมื่อครบหนึ่งหน่วยเวลาครูบอกให้สับเปลี่ยนศูนย์ตามลำดับ

          21.4 เมื่อครบทุกศูนย์รวมทุกคนอภิปรายซักถามหรือเสนอรายงาน

                             -------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น